ศัพท์บอกช่วงเวลาในนิยายจีน
หากเป็นแฟนนิยายจีนโบราณแล้ว ผู้อ่านส่วนใหญ่ก็จะคุ้นเคยกับคำบอกเวลาแบบจีนโบราณกันแน่ ๆ แต่สำหรับผู้อ่านใหม่แล้วอาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยสักเท่าไร วันนี้แอดเลยจะมาบอกถึง การนับช่วงยามแบบจีนโบราณ ว่าคนจีนในสมัยก่อนนั้นเขาบอกเวลากันอย่างไร
การนับช่วงยามแบบจีนโบราณ
ในสมัยโบราณ คนจีนจะแบ่งเวลา 1 วันเป็น 12 ชั่วยาม ดังนั้น เมื่อเทียบกับเวลาสากล 1 ชั่วยามจึงเท่ากับ 2 ชั่วโมง โดยจะเริ่มนับชั่วยามแรกตั้งแต่เวลา 00.01-02.00 น. และนับต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 ชั่วยาม
ชั่วยาม (时辰:shíchén)

ยามจื่อ (子:zǐ) คือ 23.00 – 24.59 น.
ยามโฉ่ว (丑:chǒu) คือ 01.00 – 02.59 น.
ยามอิ๋น (寅:yín) คือ 03.00 – 04.59 น.
ยามเหม่า (卯:mǎo) คือ 05.00 – 06.59 น.
ยามเฉิน (辰:chén) คือ 07.00 – 08.59 น.
ยามซื่อ (巳:sì) คือ 09.00 – 10.59 น.

ยามอู่ (午:wǔ) คือ 11.00 – 12.59 น.
ยามเว่ย (未:wèi) คือ 13.00 – 14.59 น.
ยามเซิน (申:shēn) คือ 15.00 – 16.59 น.
ยามโหย่ว (酉:yǒu) คือ 17.00 – 18.59 น.
ยามซวี (戌:xū) คือ 19.00 – 20.59 น.
ยามห้าย (亥:hài) คือ 21.00 – 22.59 น
นอกจากการนับชั่วยามแล้วก็ยังมี เค่อ (刻:kè) นับเวลา 1 เค่อ เทียบเท่ากับ 15 นาทีโดยประมาณตามเวลาสากล ซึ่งในหนึ่งวันมีทั้งหมด 100 เค่อ ในแต่ละชั่วยามมีทั้งหมด 8 เค่อ
**ข้อควรระวัง แอดจะมาเตือนในเรื่องของความสับสนระหว่างการนับ “ชั่วยาม” กับ “ยาม” ซึ่งยามของคนจีนหมายถึงช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปแล้ว โดยมีเพียง 5 ยามเท่านั้น เริ่มตั้งแต่ยามแรก 19.01-21.00 น. ยาม 2 เวลา 21.01-23.00 น. นับทีละ 2 ชั่วโมงไปเรื่อย ๆ จนถึงยาม 5 ที่เวลา 03.01-05.00 น.
FB: 1168group
Line:@1168group
IG : 1168group
Website: 1168group.com
Shopee: 1168group_official
Tel:02-732-3556-7