1168 PUBLISHING
ไลฟ์สไตล์

Design ตารางชีวิตประจำวันด้วย Bullet Journal

สำหรับใครที่ต้องการวางแผนจัดการชีวิตที่แสนจะไม่เป็นระเบียบให้มันกลับมาเข้าที่เข้าทาง ขอแนะนำวิธีนี้เลย Bullet Journal การออกแบบตารางชีวิตที่แสนจะน่ารักและสร้างสรรค์ สามารถ DIY ในไสตล์ของตัวเองได้อีกด้วย แถมยังช่วยฝึกสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของความคิดสร้างสรรค์ด้วยนะ

Bullet Journal หรือ บูโจ (BuJo) คิดค้นขึ้นโดย ‘Ryder Carroll’  นักเขียนชาวอเมริกัน คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้เราสามารถจัดการกับข้อมูลของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเขียนจดบันทึกด้วยมือแบบใหม่ ช่วยจัดลำดับความคิดและสิ่งที่ต้องทำ (To do list) และยังช่วยจัดสรรเวลาในอนาคต (Future Log) ได้อีกด้วยนะ

หลักการทำ Bullet Journal มีอะไรบ้างนะ?

  • จดกระชับและเข้าใจง่าย (Rapid Logging) 
    การจดให้กระชับก็เป็นส่วนสำคัญ โดยเน้นเนื้อหากับการเขียนให้สั้นและเข้าใจง่ายมากที่สุด
  • ชื่อหัวข้อ หรือกิจกรรมที่ต้องทำ (Topics)
    ก่อนจะทำอะไรต้องมีหัวข้อก่อน เอาที่เราเข้าใจง่าย อ่านรอบเดียวให้เข้าใจเลยว่าที่เหลือคือเรื่องอะไร
  • ต้องเขียนเลขหน้าและมีการจัดสารบัญ (Page Number)
    อันนี้สำคัญมาก ๆ เพราะสิ่งนี้คือตัวแก้ปัญหา ใส่เลขหน้าแต่ละหน้าแล้วทำสารบัญ ก็จะทำให้หน้าหัวข้อที่ต้องการง่ายขึ้น
  • บอกสิ่งที่ต้องทำ เช่น งานที่ต้องทำหรือการนัดหมายต่าง ๆ (Short Sentences)
    จดเป็นประโยคสั้นๆ ที่บ่งบอกกับสิ่งที่จะต้องทำ เช่น งานที่ต้องทำ การนัดหมาย หรือบันทึกช่วยจำ
  • หัวใจสำคัญ การแสดงสถานะในการบันทึกสิ่งต่าง ๆ (Bullets)
    การแสดงสถานะในการบันทึกต่างๆ โดยสามารสร้างสัญลักษณ์ด้วยตนเองได้ หรือที่เรียกว่า (key) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่คนนิยมใช้กัน เช่น

+ แทน สิ่งที่ต้องทำ หรือ To do
X แทน งานที่ทำเสร็จแล้ว ปกติเขียนทับตัวข้างบน
> แทน งานที่ไม่เสร็จแล้วต้องย้ายไปวันอื่น
–  แทน การจดบันทึกทั่วไป
O แทน Even หรือกิจกรรมที่ต้องทำ

  นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอีกอย่างเราเรียกมันว่า Module อันนี้ค่อนข้างจะเหมือนๆกันถ้าใช้ BuJo โดยจะประกอบด้วย โครงสร้างหลัก ๆ  คือ

  • Index หรือ สารบัญ 
    หน้าแรกของสมุดจะถูกเขียนด้วยสารบัญ ให้เราค่อย ๆ ทยอยนำเนื้อหามาลงเพื่อให้หาบันทึกของเราง่ายขึ้น
  • Future Log (เป้าหมายที่ต้องทำในอนาคต)
    เอาไว้ใส่อะไรก็ตามที่ต้องวางแผนล่วงหน้าหลักเดือน เป็นภาพรวมของทั้งปีว่าในแต่ละเดือนข้างหน้าเรามีกิจกรรมหรืองานอะไรบ้างที่ต้องทำ ถ้ารู้แน่นอนแล้วก็เขียนบันทึกลงไป
  • Month Log (งานที่ต้องทำเป็นรายเดือน)
    หลักการเดียวกับ Future Log แต่ย่อยลงไปหน่อย แบบรายเดือนจะต้องลงรายละเอียดเป็นวันแล้วว่า วันนี้มีงานนี้หรือกิจกรรมอะไร หรือมีนัดกับใครบ้าง
  • Daily Log (งานที่ทำเป็นรายวัน)
    ย่อยออกมาจากการเขียนเป็นเดือน เป็นการเขียนแบบวันต่อวัน ใน Log นี้จะมีความละเอียด มีการเลื่อน ย้าย หรือสำเร็จไปแล้วของงานต่างๆ

แล้วจดอย่างอื่นลงไปได้ไหมนะ?

ไม่ใช่เป็นแค่ตารางการวางแผนเพียงอย่างเดียว สามารถเป็นได้ทั้งสมุดจดบันทึก แพลนเนอร์และไดอารี่ สามารถตกแต่งเล่มบูโจของเราได้ด้วยปากกาหลากสีสัน เทปลายน่ารัก ๆ  โพสอิท หรือสำหรับใครที่วาดรูปไม่เก่งก็ใช้สติ๊กเกอร์แปะแทนก็น่ารักไม่แพ้กัน

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Bullet  Journal

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเลยคือการเตือนความจำสำหรับแผนการในอนาคต และยังช่วยจัดงาน ช่วยบันทึกกิจกรรมต่างๆที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบ เป็นอีกวิธีที่ทำให้ได้ฝึกการจัดระเบียบทางความคิดอยู่กับตัวเองมากขึ้น

เป็นไงกันบ้างคะกับการได้ลองทำตารางออกแบบชีวิตที่ออกแบบเองได้ สนุกและน่ารักใช่ไหมล่ะ เท่านี้การจัดระเบียบชีวิตก็ไม่ดูน่าเบื่ออีกต่อไป ใครที่ออกแบบเล่มบูโจเสร็จแล้วก็อย่าลืมมาอวดฝีมือการตกแต่งให้ดูกันน๊าา

เรียบเรียงโดย : ศศินา ฉายแสง (ฟ้า) นักศึกษาฝึกงาน


 SCRAPBOOK D.I.Y SET 
🔸 ราคาเพียง 129 บาท 🔸
– สมุดไม่มีเส้น ขนาด A5 – 1 เล่ม
(กระดาษถนอมสายตา 80 แกรม : 80แผ่น)
– Sticker Emotion – 2 แผ่น
(PP เงา – Dicut แผ่นละ 48 ดวง)
 
📌ภายใน Set เลือกเพิ่มอีก 2 ชิ้น เลือกได้ทั้ง STEP 1 และ 2
 
🔹STEP 1🔹 – Washi Tape
A. Washi Tape จำนวน 2 ชิ้น
(กว้าง 1.5 cm. x ยาว 5 m. – คละลาย)
B. Washi Tape จำนวน 5 ชิ้น
(กว้าง 1.5 cm. x ยาว 3 m. – คละลาย)
 
🔹STEP 2🔹 – Pens
A. ปากกาหลากสี 1 Set (4 ด้าม คละลาย)
B. ปากกาหมึกเจล 1 Set (4 ด้าม คละลาย)